การปกครองสมัยต่างๆ

สมัยกรุงธนบุรี
          การปกครองในสมัยกรุงธนบุรียังคงมีรูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนปลาย พอสรุปได้ดังนี้
การปกครองส่วนกลาง หรือ การปกครองในราชธานี
ีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดเปรียบเสมือนสมมุติเทพ มีเจ้าฟ้าอินทรพิทักษ์ดำรงดำแหน่งพระมหาอุปราช มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหรือสมุหพระกลาโหม มียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนา และอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนหรือสมุหนายก(มหาไทย) มียศเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ 4 กรมได้แก่
          1. กรมเมือง (นครบาล)         มีพระยายมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในเขตราชธานี การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและการปราบโจรผู้ร้าย
          2. กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์)       มีพระยาธรรมาเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในราชสำนักและพิพากษาอรรถคดี
          3. กรมพระคลัง (โกษาธิบดี)  มีพระยาโกษาธดีเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน และติดต่อ ทำการค้ากับต่างประเทศ 
          4. กรมนา (เกษตราธิการ)      มีพระยาพลเทพเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและเสบียงอาหารตลอดจน ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นา
การปกครองส่วนภูมิภาค หรือ การปกครองหัวเมือง

การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช

          หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ดูแลเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง อำนาจในการปกครองขึ้นอยู่กับเสนาบดีจัตุสดมภ์ หัวเมืองชั้นในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ พระประแดง นนทบุรี สามโคก(ปทุมธานี)
          หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายก ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับกรมท่า(กรมพระคลัง) ถ้าเป็นเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์ จะส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ออกไปเป็นเจ้าเมือง ทำหน้าที่ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ

          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นเอก ได้แก่ พิษณุโลก จันทบูรณ์
          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นโท   ได้แก่ สวรรคโลก ระยอง เพชรบูรณ์
          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นตรี   ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์
          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นจัตวาได้แก่ ไชยบาดาล ชลบุรี

หัวเมืองประเทศราช

          เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกลออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด
          หัวเมืองประเทศราช ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนาไทย) ลาว (หลวงพระบาง,เวียงจันทน์, จำปาศักดิ์) กัมพูุชา (เขมร) และนครศรีธรรมราช
                     การปกครองของกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาแห่งการเป็นราชธานีอันยาวนาน  มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแตกต่างกันแต่ละยุคแต่ละสมัย  ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบการปกครองได้เป็น 3 ช่วง  คือ  สมัยอยุธยาตอนต้น  สมัยอยุธยาตอนกลาง  และสมัยอยุธยาตอนปลายการเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย
          สมัยอยุธยาตอนต้น
               ในสม้ยนี้เป็นสมัยของการวางรากฐานอำนาจทางการเมืองการปกครอง  รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงของอาณาจักร  ซึ่งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวางมากนัก  พระเจ้าอู่ทองทรงวางรากานการปกครองไว้  ดังนี้
               1.1  การปกครองส่วนกลาง (ราชธานี)
                         พระมหากษัตริย์แบ่งการปกครองเป็น 4 ส่วน  เรียกว่า  จตุสดมภ์  ให้แต่ละส่วนมีอำนาจหน้าที่  ดังนี้
                         1)  กรมเวียง  (กรมเมือง)  มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร  เช่น  ปราบปรามโจรผู้ร้าย  นำตัวผู้ทำผิดมาลงโทษ  มีเสนาบดี  ตำแหน่ง  ขุนเวียง  หรือ  ขุนเมือง  เป็นหัวหน้า
                         2)  กรมวัง  มีหน้าที่จัดระเบียบเกี่ยวกับราชสำนัก  จัดงานพระราชพิธีต่าง ๆ  พิพากษาคดีความของราษฎร  มีเสนาบดีตำแหน่ง  ขุนวัง  เป็นผู้รับผิดชอบ
                         3)  กรมคลัง  มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร  จัดหารายได้เพื่อใช้ในการบำรุงราชอาณาจักร  รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศ  การแต่งสำเภาหลวงออกค้าขาย  มีเสนาบดีตำแหน่ง  ขุนคลัง  เป็นผู้รับผิดชอบ
                         4)  กรมนา  มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการทำมาหากินของราษฎร  เช่น  การทำนา  ทำไร่  ทำสวน  และจัดเตรียมเสบียงอาหารไว้ใช้ในยามศึกสงคราม  มีเสนาบดีตำแหน่ง  ขุนนา  เป็นผู้รับผิดชอบ
               1.2  การปกครองส่วนภูมิภาค
                         เป็นการปกครองหัวเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี  ซึ่งมีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น  โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง
                         1)  เมืองหน้าด่าน  (เมืองลูกหลวง)  เป็นหัวเมืองที่อยู่รายรอบราชธานีและมีระยะทางไปมาถึงราชธานีได้ภายใน 2 วัน  มีความสำคัญในการป้องกันข้าศึกไม่ให้โจมตีถึงราชธานีได้ง่าย  พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครองแทนพระองค์  เพื่อเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระด้านการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้นมีเมืองหน้าด่าน 
                                         
เรื่องเก่า - ชวนรู้
          ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง  โปรดเกล้า ฯ ให้พระราเมศวร  ซึ่งเป็นพระราชโอรสไปครองเมืองลพบุรี  ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศเหนือ  และโปรดเกล้า ฯ ให้ขุนหลวงพ่องั่ว  ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระมเหสีไปครองเมืองสุพรรณบุรี  ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันตก
                         2)  หัวเมืองชั้นใน  เป็นหัวเมืองที่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไปอีก  เป็นเมืองรายรอบตามระยะทางคมนาคม  อยู่ไม่ไกลจากราชธานี  สามารถติดต่อถึงกันได้สะดวก  หัวเมืองชั้นในมีความสำคัญคือ  ในยามศึกสงครามจะนำกำลังทหารมาสมทบพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งาตั้งเจ้าเมือง  กรมการเมือง  และคณะกรมการเมืองไปปกครองโดยขึ้นตรงต่อราชธานี  หัวเมืองชั้นในที่สำคัญ  มีดังนี้
                              ทิศเหนือ            เมืองาพรหมบุรี  อินทร์บุรี  สิงห์บุรี
                              ทิศใต้               เมืองเพชรบุรี
                              ทิศตะวันออก       เมืองปราจีนบุรี
                              ทิศตะวันตก         เมืองราชบุรี
                         3)  หัวเมืองชั้นนอก  (เมืองพระยามหานคร)  เป็นหัวเมืองที่มีขนาดใหญ่อยู่ห่างจากราชธานีออกไปตามทิศทางต่าง ๆ หัวเมืองชั้นนอกจะเป็นเมืองที่คอยปกป้องดูแลอาณาเขตด้านที่ตั้งอยู่  มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองสืบทอดต่อ ๆ กันมา  แต่ในบางครั้งเพื่อความมั่นคงของราชธานี  พระมหากษัตริย์ก็ทรงแต่งตั้งขุนนางจากกรุงศรีอยุธยาไปปกครอง  หัวเมืองชั้นนอกที่สำคัญ  มีดังนี้
                              ทิศเหนือ            เมืองพิษณุโลก
                              ทิศใต้               เมืองไชยา  เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองพัทลุง
                              ทิศตะวันออก       เมืองนครราชสีมา  เมืองจันทบุรี
                              ทิศตะวันตก        เมืองตะนาวศรี  เมืองทวาย
                         4)  หัวเมืองประเทศราช  เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลนอกพระราชอาณาเขต  มีการปกครองอิสระแก่ตนเอง  ชาวเมืองเป็นชาวต่างประเทศ  เมืองเหล่านี้มีรูปแบบการปกครองตามวัฒนธรรมเดิมของตน  เจ้านายพื้นเมืองมีสิทธิ์ขาดในการปกครองดินแดนของตน  แต่ต้องแสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมหรือเป็นเมืองประเทศราช  โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด  เป็นการแสดงความจงรักภักดีเมื่อเกิดศึกสงครามก็ส่งกำลังและเสบียงอาหารมาสมทบกับฝ่ายไทย  เมืองประเทศราชในสมัยนี้  ได้แก่  เขมร  มอญ  มะละกา
 อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง      มีจำนวนพลเมืองยังไม่มากและอยู่ในระหว่างการก่อร่าง
สร้างตัว  การปกครองในระยะแรกจึงยังเป็นการปกครองระบบแบบครอบครัว   ผู้นำของอาณาจักรทำตัวเหมือนบิดาของประชาชน  มีฐานะเป็นพ่อขุน  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน         ต่อมาหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงสถานการณ์ของบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป  จึงเริ่มใช้การปกครองที่เป็นแบบแผนมากขึ้น  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนแตกต่างไปจากเดิม      ความพยายามที่จะเพิ่มพูนอำนาจของกษัตริย์ให้สูงทรงมีฐานะเป็นธรรมราชา และทรงใช้หลักธรรมมาเป็นแนวทางในการปกครอง
                            ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย
การปกครองในสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1.      สมัยสุโขทัยตอนต้น   เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ไปถึงสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
2.      สมัยสุโขทัยตอนปลายตั้งแต่สมัยพระยาเลอไทยไปถึงสมัยสุโขทัยหมดอำนาจ
                             การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น ( พ.ศ. 1792  -1841 )
      หลังจากที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาแล้วได้พยายามขจัดอิทธิพลของขอมให้หมดไปจึงได้จัดระบบการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบไทย ๆที่ถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว คือ พระมหากษัตริย์ได้ปกครองประชาชนในฐานะบิดาปกครองบุตร หรือที่เรียกว่าการปกครองแบบปิตุราชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ
1.      รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
2.      พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุคร  ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว  พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน
3.      ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ นอกจากพระมหากษัตริย์ทำตัวเปรียบเสมือนบิดาของราษฎรแล้ว   ยังมีการจัดระบบการปกครอง  ดังนี้
-              ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมตัวกันเป็น  บ้าน  อยู่ในความดูแลของ พ่อบ้าน ผู้อยู่ภายใต้การปกครองเรียกว่า   ลูกบ้าน
-              หลายบ้านรวมกัน   เป็น    เมือง  ผู้ปกครองเรียกว่า    ขุน
-              เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น    อาณาจักร    อยู่ในการปกครองของ    พ่อขุน 
แสดงให้เห็นว่านอกจากพ่อขุนผู้เป็นประมุขสูงสุดแล้ว ยังมีผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากพ่อขุน
 ทำหน้าที่เป็นกลไกในการปกครองด้วย
4.      พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางศาสนาในการบริหารบ้านเมือง และทรงชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรม
 เพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
 นอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยตอนต้นยังมีการปกครองแบบทหารแอบแฝงอยู่ด้วยเนื่องจากในระยะแรกตั้งสุโขทัยมี
อาณาเขตแคบ ๆ ประชาชนยังมีน้อยดังนั้นทุดคนจึงต้องมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศเท่าๆกันจึงกำหนดว่า
วลาบ้านเมืองปกติประชาชนต่างทำมาหากินแต่เวลาเกิดศึกสงคราม ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร  โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ
                        การปกครองในสมัยสุโขทัยตอนปลาย       (พ.ศ. 1841-1981  )
     หลังจากที่พ่อชันรามคำแหงสวรรคตในพ.ศ. 1841แล้วอาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสายพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมาเริ่มอ่อนแอ  ไม่สามารถรักษาความมั่นคลของอาณาจักรไว้ได้   เมืองหลายเมืองแยกตัวออกไปเป็นอิสระ
 สภาพการเมืองภายในเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ  รูปแบบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมสลายลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงเพียงพอ      จนกระทั่งสมัยพระยาลิไทย ซึ่งขณะนั้นปกครองอยู่ที่เมือง
ศรีสัชนาลัยได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยและปราบศัตรูจนราบคาบบ้านเมืองจึงสงบลง
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย ) ขึ้นครองราชย์สมบัติในปี 1890    ทรงตระหนักถึงความไม่มั่นคงภายใน  ประกอบกับเวลานั้นกรุงศรีอยุธยาที่ตั้งขึ้นมาใหม่กำลังแผ่ขยายอำนาจจนน่ากลัวจะเกิดอันตรายกับสุโขทัย
พระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย )  ทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารอย่างเดียวนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะอำนาจทางการทหารในสมัยของพระองค์นั้นไม่เข้มแข็งพอ  จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย โดยทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ทรงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่าง และได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วไปเพื่อเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนให้เกิดเลื่อมใสศรัทธายึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต     สร้างความสามัคคีกลมเกลียวกันในแผ่นดิน
       การปกครองที่อาศัยพระพุทธศาสนานี้เรียกว่าการปกครองแบบธรรมราชา  พระมหากษัตริย์จะทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม      การปกครองแบบธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนประทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย
                                 การปกครองแบบกระจายอำนาจ
    เนื่องจากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวางมากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการปกครองแบบกระจายอำนาจโดยแบ่งหัวเมืองออกเป็น ชั้น ๆเพื่อกระจายอำนาจในการปกครองออกไปให้ทั่วถึง
     เมืองต่าง ๆในสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 4 ชั้น  แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในการปกครองดังนี้
   1. เมืองหลวง หรือเมืองราชธานี    อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือเมืองราชธานีมีพระมหากษัตริย์ปกครองเอง   เมืองราชธานี เป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาวัฒนธรรมประเพณ๊
 2   เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวเมืองชั้นใน  ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า  2 วัน  เมืองลูกหลวงมีดังนี้
                      ทิศเหนือ                 ได้แก่        เมืองศรีสัชนาลัย
                      ทิศตะวันออก         ได้แก่        เมืองสองแคว  ( พิษณุโลก )
               ทิศใต้                       ได้แก่        เมืองสระหลวง    ( เมืองพิจิตรเก่า  )
               ทิศตะวันตก              ได้แก่       เมืองนครชุม     ( กำแพงเพชร )   
 เมืองลูกหลวงมีความสำคัญรองมาจากเมืองหลวง   ผู้ที่ถูกส่งไปปกครองคือเจ้านายเชื้อพระวงษ์
3. เมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองชั้นนอก ห่างจากเมืองราชธานีออกไปมากกว่าเมืองลูกหลวง  พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือผู้ที่เหมาะสมและมีความสามารถไปปกครองดูแลเมืองเหล่านี้โดยขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีวิธีการปกครองเช่นเดียวกับหัวเมืองชั้นใน เมืองพระยามหานครในสมัยสุโขทัย    เช่น เ มืองพระบาง  (นครสวรรค์ ) เมืองเชียงทอง ( อยู่ในเขตจังหวัดตาก )เมืองบางพาน ( อยู่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร )    เป็นต้น
4. เมืองประเทศราช       ได้แก่เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นชาวต่างชาติต่างภาษาพระมหากษัตริย์ทรงดำเนินนโยบายในการปกครองคือให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมเป็นเจ้าเมืองปกครองกันอง  โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายใน  ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ยามปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์สุโขทัยทุก 3 ปี     ยามสงครามต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารมาช่วย   สมัยพ่อขุนรามคำแหงมีเมืองประเทศราชหลายเมืองดังต่อไปนี้คือ
       ทิศเหนือ                                 ได้แก่         เมืองแพร่ เมืองน่าน
       ทิศตะวันตก                            ได้แก่         เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
       ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ         ได้แก่          เมืองเซ่า   ( หลวงพระบาง )         เมืองเวียงจันทน์
       ทิศใต้                                       ได้แก่          เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์
                 สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นสมัยการสร้างชาติบ้านเมือง ให้รุ่งเรืองเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังคำกล่าวที่ว่า "ทำให้เหมือนเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี" ดังนั้นช่วงรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ เป็นสมัยที่ กรุงรัตนโกสินทร์เจริญรอยตามแบบกรุงศรีอยุธยา ทั้งทางด้านรูปแบบและการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

โครงสร้างสังคมสมัยต้นรัตนโกสินทร์
โครงสร้างสังคมสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีรูปแบบเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งเป็นสังคมครอบครัวและสังคมทั่วไป สังคมครอบครัวไม่แตกต่างจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนสังคมทั่วไปมีรายละเอียดปลีกย่อยออกไปและยังคงแบ่งคนในสังคมทั่วไปเป็น ๒ ชนชั้น คือชนชั้นผู้ปกครองประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ นักบวช กับชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง คือไพร่และทาส

ชนชั้นผู้ปกครอง

ผู้ปกครองมีฐานะเป็นมูลนาย มูลนายมี ๒ อย่างคือ มูลนายโดยกำเนิด ได้แก่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ และมูลนายโดยการดำรงตำแหน่ง เช่นขุนนางข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมไพร่ตามอำนาจความรับผิดชอบของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ และแตกต่างจากมูลนายโดยกำเนิดที่ศักดินา สิทธิและอำนาจ ที่ล้วนขึ้นอยู่กับตำแหน่ง มูลนายโดยตำแหน่งที่มีความสำคัญและมีอำนาจมากที่สุดคือ พระมหากษัตริย์ รวมถึงกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและเจ้านายที่ทรงกรม
มูลนายยังแบ่งเป็น ๒ ชั้นคือ มูลนายระดับสูง และ มูลนายระดับล่าง ซึ่งปรากฏในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง มูลนายระดับสูงหมายถึงผู้ถือศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป ซึ่งมีทั้งเจ้านาย ขุนนาง พระภิกษุ พราหมณ์ ผู้รู้ศิลปศาสตร์ รวมทั้งพระมหากษัตริย์ด้วย พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมูลนายระดับสูงทำให้คนเหล่านั้นมีสิทธิพิเศษบางประการ เช่น มีสิทธิเข้าเฝ้า ขณะเสด็จออกว่าราชการและลูกมูลนายระดับสูงได้รับการยกเว้นไม่ต้องสักเป็นไพร่
มูลนายระดับล่าง หมายถึงผู้ถือศักดินาระหว่าง ๓๐-๔๐๐ มูลนายระดับสูงเป็นผู้แต่งตั้งให้มาช่วยราชการ ทำหน้าที่ควบคุมไพร่โดยอยู่ใต้บังคับบัญชาของมูลนายระดับสูงอีกทีหนึ่ง ได้รับสิทธิพิเศษไม่ถูกสักเป็นไพร่ เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ครอบคลุมถึงครอบครัว คนเหล่านี้เป็นฐานอำนาจของมูลนายระดับสูง

ชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง

ชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครองประกอบด้วยไพร่และทาส ไพร่คือราษฎรสามัญทั่วไปซึ่งมีจำนวนมากและเป็นคนส่วนใหญ่ของราชอาณาจักร ต้องสังกัดมูลนายเพื่อแลกเปลี่ยนกับความคุ้มครอง ถือศักดินาระหว่าง ๑๐-๒๕ ความเป็นไพร่มีมาแต่กำเนิดและได้รับการแบ่งปันขึ้นสังกัดกรมกองต่าง ๆ เมื่อลูกหมู่ชายหญิงอายุ ๙ ปีขึ้นไป ไพร่ยังมาจากผู้ที่สึกจากสมณเพศ ทาสที่เป็นไทและมูลนายที่ทำผิดแล้วถูกถอดเป็นไพร่ ส่วนทาสมีศักดินา ๕ ทาสมีทั้งทาส ที่เป็นมาแต่กำเนิด เชลยศึก ผู้ที่ขายตัวหรือถูกขายตัวเป็นทาส ทั้งไพร่และทาสมีหน้าที่เหมือนกันตรงที่ต้องถูกเกณฑ์ไปรบเมื่อมีราชการสงคราม

ไพร่ มีระเบียบว่า เริ่มจากแบ่งลูกหมู่อายุ ๙ ปีขึ้นไปเข้าสังกัดมูลนายเป็นไพร่หลวง ไพร่สม หรือไพร่ส่วย ตามสังกัดของบิดามารดา มูลนายต้องทำบัญชีไว้จนกว่าจะปลดชรา การปลดชราไพร่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่เดิมก่อน พ.ศ. ๒๔๔๒ ไม่มีกำหนดอายุสิ้นสุดของไพร่เป็นลายลักษณ์อักษร การปลดชราพิจารณาจากสังขารของไพร่ และค่อย ๆ มีแนวโน้มว่าอายุควรเป็นเครื่องกำหนดได้และตระหนักว่าคนอายุ ๗๐ ปี ใช้ราชการไม่ค่อยได้แล้ว แต่ยังคงใช้ทำงานเบา ๆ ต่อไป อายุจึงไมใช่เครื่องกำหนดในการปลดชราและตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๒ ไพร่ปลดชราเมื่ออายุ ๖๐ ปี ไพร่สมัยรัตนโกสินทร์มี ๓ ประเภทดังนี้

๑. ไพร่หลวง หมายถึงไพร่ของหลวง ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ พวกนี้กระจายอยู่ตามกรมกองต่าง ๆ มีเจ้ากรมและข้าราชการกรมต่าง ๆ ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ สมัยรัชกาลที่ ๑ ไพร่หลวงเข้ารับราชการปีละ ๔ เดือนคือเข้าเดือน ออก ๒ เดือน สมัยรัชกาลที่ ๒ รับราชการ ๓ เดือนต่อปีหรือเข้าเดือนออก ๓ เดือนใช้มาจนสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต้นรัชกาลไพร่หลวงจึงเข้ามารับราชการปีละหนึ่งเดือน พ.ศ. ๒๔๒๕ จึงได้เริ่มมีการปลดปล่อยไพร่และทาส

๒. ไพร่สม เป็นกำลังคนส่วนใหญ่ของมูลนาย มักเรียกรวม ๆ กันว่า ข้าหรือข้าเจ้า บ่าวขุนนาง สมัยต้นรัตนโกสินทร์ไพร่สมต้องรับใช้มูลนายของตนและต้องรับใช้ข้าราชการ โดยการมาให้แรงงานปีละ ๑ เดือน หากไม่ไป จะต้องเสียเงินให้ราชการหนึ่งตำลึงสองบาท (๖ บาท)

ไพร่สมเป็นเสมือนสมบัติของมูลนาย ที่จะใช้งานส่วนตัวได้โดยไม่ระบุเวลาใช้งานที่แน่นอน เเต่ไม่ใช่สมบัติที่ตกทอดเป็นมรดกเมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนเป็นไพร่หลวง แต่ความเป็นจริงมักปรากฏว่าทายาทของมูลนายเดิมหรือมูลนายอื่นจะถือโอกาสขอตัวไพร่สมนั้นไว้ พระมหากษัตริย์มักจะพระราชทานให้ตามที่ขอ สมัยรัชกาลที่ ๑ กฎหมายยังให้สิทธิแก่ไพร่สมฟ้องร้องมูลนายของตนได้ ถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าชนะความจะพ้นจากความเป็นไพร่สมไปเป็นไพร่หลวง นอกจากนั้นถ้านายทำผิดแล้วต้องโทษ ไพร่สมของมูลนายคนนี้จะถูกโอนเป็นไพร่หลวงแยกไปสังกัดกรมกองต่าง ๆ มีมูลนายใหม่ควบคุม

๓. ไพร่ส่วย หมายถึงไพร่ที่ไม่ต้องทำงานให้รัฐ แต่ส่งส่วยให้เป็นการตอบแทนการส่งส่วยมีทั้งส่งเป็นรายปีและส่วยเกณฑ์กรณีพิเศษ เช่น เรียกเกณฑ์ให้ตัดไม้มาใช้ในการสร้างพระเมรุ ขุดหาแร่ทองแดงมาหล่อพระพุทธรูป ฯลฯ บางครั้งอาจเรียกเกณฑ์แรงงานไพร่ส่วยได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทางการจัดหาเสบียงอาหารให้ด้วย
ไพรส่วยนี้ที่จริงแล้วคือไพร่หลวงที่ไม่สะดวกในการเข้ารับราชการหรือทางการไม่ต้องการแรงงานเพราะไม่สามารถหางานให้คนทั่วราชอาณาจักรทำได้ อีก ทั้งต้องการส่วยสิ่งของเพื่อไปค้าสำเภาด้วย จึงกำหนดให้ส่งส่วยแทน

ข้าพระโยมสงฆ์ จัดเป็นไพร่ส่วยด้วย อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้ากรม ปลัดกรมและสมุหบัญชีเช่นเดียวกับไพร่กองอื่น ๆ ต่างกันที่เป็นของฝ่ายพทุธจักร เพราะทางการได้หักกำลังคนส่วนนี้ออกจากกรมกองเดิม พ้นจากหน้าที่ที่ทำอยู่เดิมแล้วมอบให้วัดเพื่อให้แรงงานโดยตรง พวกนี้มีหน้าที่ทำงานให้วัดและช่วยวัดอื่นๆ ด้วย สมัยรัชกาลที่ ๔ ข้าพระโยมสงฆ์ส่วนหนึ่งต้องทำส่วยส่งรัฐเป็นรายปีด้วย

ทาส

คือพลเมืองอีกกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่เป็นพลเมืองที่มีสถานะเหมือนทรัพย์สินส่วนตัวของนายเงิน การโอนหรือขายต่อเป็นสิทธิของนายเงิน ทาสจึงต่างจากไพร่ตรงจุดนี้ กฎหมายยังรับรองสิทธิของนายเงินที่มีเหนือทาส ขณะเดียวกันก็มีกฎหมายให้ความคุ้มครองทาสด้วย ทาสสมัยรัตนโกสินทร์มีสภาพเช่นเดียวกับทาสสมัยกรุงศรีอยุธยาดังได้กล่าวมาแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น