วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มรดกโลก


มรดกโลก

                              มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
                        ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศโดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
                        มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น


มรดกโลก มรดกอันทรงคุณค่าที่มนุษย์ได้รับจากอดีต ได้ใช้ และภาคภูมิใจในปัจจุบัน และถือเป็นพันธกรณีในการทนุบำรุงดูแลรักษา เพื่อมอบให้เป็นมรดกอันล้ำค่าแด่มวลมนุษย์ในอนาคต



ตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก (The World Heritage Convention) ได้แบ่งพื้นที่มรดกโลกออกเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม (cultural heritage) มรดกโลกทางธรรมชาติ (natural heritage) และมรดกโลกแบบผสมผสาน (mixed heritage) ปัจจุบันมีแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติในประเทศต่างๆทั่วโลก 134 ประเทศ จำนวน 788 แหล่ง แบ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม 611 แหล่ง มรดกทางธรรมชาติ 154 แหล่ง และเป็นแบบผสมผสาน 23 แหล่ง ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือระดับนานาชาติในการส่งเสริมและสนับสนุนให้แหล่งมรดกโลกได้รับการคุ้มครองและสงวนรักษาอย่างจริงจัง

คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2530 และเห็นชอบให้นำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของไทยรวม 6 แหล่ง เพื่อบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทางทะเลหมู่เกาะตะรุเตา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง


ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 15 ปีพ.ศ. 2534 ที่ประเทศสาธารณรัฐตูนิเซีย แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมจำนวน 2 แหล่ง คืออุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยากับแหล่งมรดกทางธรรมชาติ 1 แหล่งคือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศให้บรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก และในปีถัดมาคือพ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 16 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศให้เป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นแหล่งมรดกโลกอีกแห่งหนึ่ง


"กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" ของไทยได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2548  

ขั้นตอนการเสนอชื่อให้เป็นมรดกโลก

  1. อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศ เพื่อทำบัญชีเบื้องต้น (Tentative List)
  2. ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อ ให้เลือกสถานที่จากรายการที่มีอยู่ในบัญชีเบื้องต้น
  3. เริ่มต้นตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ (World Conservation Union)
  4. ทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง
  5. การพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดเป็นมรดกโลกหรือไม่ จะต้องเข้าหลักตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ (อาจมีการขอข้อมูลเพิ่มเติมอีก)

มรดกโลก มรดกไทย

  1. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
    • เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
    • เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  2. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
  3. อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
  4. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
    • เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
    • เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
    • เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
  5. ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2548 สาเหตุที่ได้รับ
    • เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก กำหนดให้มีการจัดทำบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่รัฐภาคีต่างๆ นำเสนอ และมีคุณค่าโดดเด่นตามเกณฑ์มาตรฐานไว้ใน "บัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก" (World Heritage List)
               ปัจจุบัน (พุทธศักราช ๒๕๕๔)   มีมรดกโลกทั้งหมด ๙๓๖ แห่ง  ใน ๑๕๓ ประเทศทั่วโลก    ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๗๒๕ แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ ๑๘๓ แห่ง และอีก ๒๘ แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท    โดยมีการแบ่งออกเป็น ๕ พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา  อาหรับ  เอเชียแปซิฟิก  ยุโรป - อเมริกาเหนือ และละตินอเมริกา- แคริบเบียน
พื้นที่มรดกโลกทางวัฒนธรรมมรดกโลกทางธรรมชาติมรดกโลกผสมมรดกโลกรวม
Africa4533482
   --> Benin (เบนิน)1001
   --> Botswana (บอตสวานา)1001
   --> Burkina Faso (บูร์กินาฟาโซ)1001
   --> Côte d'lvoire (โกตดิวัวร์)0202
   --> Cameroon (แคเมอรูน)0101
   --> Cape Verde (เคปเวิร์ด)1001
   --> Central African Republic (สาธารณรัฐแอฟริกากลาง)0101
   --> Democratic Republic of the Congo (สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก)0505
   --> Ethiopia (เอธิโอเปีย)8109
   --> Gabon (กาบอง)0011
   --> Gambia (แกมเบีย)2002
   --> Ghana (กานา)2002
   --> Guinea (กินี)0101
   --> Kenya (เคนยา)3306
   --> Madagascar (มาดากัสการ์)1203
   --> Malawi (มาลาวี)1102
   --> Mali (มาลี)3014
   --> Mauritius (มอริเชียส)2002
   --> Mozambique (โมซัมบิก)1001
   --> Namibia (นามิเบีย)1001
   --> Niger (ไนเจอร์)0202
   --> Nigeria (ไนจีเรีย)2002
   --> Senegal (เซเนกัล)4206
   --> Seychelles (เซเชลส์)0202
   --> South Africa (แอฟริกาใต้)4318
   --> Tanzania, United Republic of (สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย)3317
   --> Togo (โตโก)1001
   --> Uganda (ยูกันดา)1203
   --> Zambia (แซมเบีย)0101
   --> Zimbabwe (ซิมบับเว)3205
Arab States644270
   --> Algeria (แอลจีเรีย)6017
   --> Bahrain (บาห์เรน)1001
   --> Egypt (อียิปต์)6107
   --> Iraq (อิรัก)3003
   --> Jerusalem (Site proposed by Jordan) (เยรูซาเล็ม)1001
   --> Jordan (จอร์แดน)3014
   --> Lebanon (เลบานอน)5005
   --> Libyan Arab Jamahiriya (ลิเบีย)5005
   --> Mauritania (มอริเตเนีย)1102
   --> Morocco (โมร็อกโก)8008
   --> Oman (โอมาน)4004
   --> Saudi Arabia (ซาอุดีอาระเบีย)2002
   --> Sudan (ซูดาน)2002
   --> Syrian Arab Republic (สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย)6006
   --> Tunisia (ตูนิเซีย)7108
   --> United Arab Emirates (สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์)1001
   --> Yemen (เยเมน)3104
Asia and the Pacific143529204
   --> Afghanistan (อัฟกานิสถาน)2002
   --> Australia (ออสเตรเลีย)312419
   --> Bangladesh (บังกลาเทศ)2103
   --> Cambodia (กัมพูชา)2002
   --> China (จีน)298441
   --> India (อินเดีย)235028
   --> Indonesia (อินโดนีเซีย)3407
   --> Iran (Islamic Republic of) (สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน)130013
   --> Japan (ญี่ปุ่น)124016
   --> Kazakhstan (คาซัคสถาน)2103
   --> Kiribati (คิริบาส)0101
   --> Korea, Democratic People's Republic of (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี)1001
   --> Korea, Republic of (สาธารณรัฐเกาหลี)91010
   --> Kyrgyzstan (คีร์กีซสถาน)1001
   --> Lao People's Democratic Republic (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)2002
   --> Malaysia (มาเลเซีย)1203
   --> Marshall Islands (หมู่เกาะมาร์แชลล์)1001
   --> Mongolia (มองโกเลีย)2002
   --> Nepal (เนปาล)2204
   --> New Zealand (นิวซีแลนด์)0213
   --> Pakistan (ปากีสถาน)6006
   --> Papua New Guinea (ปาปัวนิวกินี)1001
   --> Philippines (ฟิลิปปินส์)3205
   --> Solomon Islands (หมู่เกาะโซโลมอน)0101
   --> Sri Lanka (ศรีลังกา)6208
   --> Tajikistan (ทาจิกิสถาน)1001
   --> Thailand (ไทย)3205
   --> Turkmenistan (เติร์กเมนิสถาน)3003
   --> Uzbekistan (อุสเบกิสถาน)4004
   --> Vanuatu (วานูอาตู)1001
   --> Viet Nam (เวียดนาม)5207
Europe and North America3855910454
   --> Albania (แอลเบเนีย)2002
   --> Andorra (อันดอร์รา)1001
   --> Armenia (อาร์เมเนีย)3003
   --> Austria (ออสเตรีย)9009
   --> Azerbaijan (อาเซอร์ไบจาน)2002
   --> Belarus (เบลารุส)3104
   --> Belgium (เบลเยียม)100010
   --> Bosnia and Herzegovina (บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา)2002
   --> Bulgaria (บัลแกเรีย)7209
   --> Canada (แคนาดา)69015
   --> Croatia (โครเอเชีย)6107
   --> Cyprus (ไซปรัส)3003
   --> Czech Republic (สาธารณรัฐเช็ก)120012
   --> Denmark (เดนมาร์ก)3104
   --> Estonia (เอสโตเนีย)2002
   --> Finland (ฟินแลนด์)6107
   --> France (ฝรั่งเศส)333137
   --> Georgia (จอร์เจีย)3003
   --> Germany (เยอรมนี)333036
   --> Greece (กรีซ)150217
   --> Holy See (นครรัฐวาติกัน)2002
   --> Hungary (ฮังการี)7108
   --> Iceland (ไอซ์แลนด์)1102
   --> Ireland (ไอร์แลนด์)2002
   --> Israel (อิสราเอล)6006
   --> Italy (อิตาลี)443047
   --> Latvia (ลัตเวีย)2002
   --> Lithuania (ลิทัวเนีย)4004
   --> Luxembourg (ลักเซมเบิร์ก)1001
   --> Malta (มอลตา)3003
   --> Moldova, Republic of (สาธารณรัฐมอลโดวา)1001
   --> Mongolia (มองโกเลีย)0101
   --> Montenegro (มอนเตเนโกร)1102
   --> Netherlands (เนเธอร์แลนด์)8109
   --> Norway (นอร์เวย์)6107
   --> Poland (โปแลนด์)121013
   --> Portugal (โปรตุเกส)121013
   --> Romania (โรมาเนีย)6107
   --> Russian Federation (สหพันธรัฐรัสเซีย)159024
   --> San Marino (ซานมาริโน)1001
   --> Serbia (เซอร์เบีย)4004
   --> Slovakia (สโลวาเกีย)5207
   --> Slovenia (สโลวีเนีย)1102
   --> Spain (สเปน)383243
   --> Sweden (สวีเดน)121114
   --> Switzerland (สวิตเซอร์แลนด์)83011
   --> the Former Yugoslav Republic of Macedonia (มาซีโดเนีย)0011
   --> Turkey (ตุรกี)80210
   --> Ukraine (ยูเครน)4105
   --> United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland (สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ)234128
   --> United States of America (สหรัฐอเมริกา)812121
Latin America and the Caribbean88353126
   --> Argentina (อาร์เจนตินา)4408
   --> Belize (เบลีช)0101
   --> Bolivia (Plurinational State of) (โบลิเวีย)5106
   --> Brazil (บราซิล)117018
   --> Chile (ชิลี)5005
   --> Colombia (โคลัมเบีย)5207
   --> Costa Rica (คอสตาริกา)0303
   --> Cuba (คิวบา)7209
   --> Dominica (โดมินิกา)0101
   --> Dominican Republic (สาธารณรัฐโดมินิกัน)1001
   --> Ecuador (เอกวาดอร์)2204
   --> El Salvador (เอลซัลวาดอร์)1001
   --> Guatemala (กัวเตมาลา)2013
   --> Haiti (เฮติ)1001
   --> Honduras (ฮอนดูรัส)1102
   --> Mexico (เม็กซิโก)274031
   --> Nicaragua (นิการากัว)2002
   --> Panama (ปานามา)2305
   --> Paraguay (ปารากวัย)1001
   --> Peru (เปรู)72211
   --> Saint Kitts and Nevis (เซนต์คิตส์และเนวิส)1001
   --> Saint Lucia (เซนต์ลูเซีย)0101
   --> Suriname (ซูรินาเม)1102
   --> Uruguay (อุรุกวัย)1001
   --> Venezuela (Bolivarian Republic of) (เวเนซุเอลา)2103
หมายเหตุ : แหล่งมรดกโลกบางแห่งขึ้นบัญชีร่วมข้ามประเทศ (Transnational property)


สำหรับผู้ที่รักโปสการ์ดแล้ว  ภาพบนโปสการ์ดย่อมนำมาซึ่งความแปลกใหม่   ภาพวิวทิวทัศน์ต่าง ๆ พาให้ผู้รับได้พบเห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็น เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจ   ในวงการนักสะสมโปสการ์ด ภาพสถานที่สำคัญต่าง ๆ ถือได้ว่าเป็นที่นิยมเป็นอันดับหนึ่งก็ว่าได้   หัวข้อหนึ่งในการสะสมโปสการ์ดภาพวิวก็คือสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก้  ในวงการนักสะสม จะเรียกโปสการ์ดที่ด้านหน้าแสดงภาพของสถานที่ที่เป็นมรดกโลกสั้น ๆ ว่าโปสการ์ดยูเนสโก้  (UNESCO postcards)

 
โปสการ์ดยูเนสโก้ ไม่ใช่โปสการ์ดที่ผลิตโดยองค์การยูเนสโก้   แต่เป็นโปสการ์ดที่ขายตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นมรดกโลก   สำหรับผู้เริ่มต้นการสะสมโปสการ์ดยูเนสโก้ถือเป็นการรับประกันระดับหนึ่งว่าภาพบนโปสการ์ดนั้น แสดงถึงสถานที่ที่มีความสำคัญระดับโลก

 
มรดกโลกขององค์การยูเนสโก้แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม และมรดกโลกทางธรรมชาติ  ปัจจุบันมีสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วกว่า 800 แห่งทั่วโลก   การกำหนดสถานที่ใดขึ้นเป็นมรดกโลก ย่อมแสดงถึงการได้รับการยอมรับในคุณค่าของสถานที่แห่งนั้น และจะนำมาซึ่งงบประมาณในการดูแลรักษา

 
ในบ้านเรา คำว่ามรดกโลกขององค์การยูเนสโก้เพิ่งจะได้รับความสนใจกันเป็นพิเศษจากกรณีปราสาทพระวิหาร ซึ่งประเทศกัมพูชาได้เสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว และเป็นปัญหายืดเยื้อระดับชาติ   แต่ทราบกันหรือไม่ว่าประเทศไทยมีมรดกโลกอยู่แล้วในปัจจุบันถึง 5 แห่ง คือ
1.เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง
2.แหล่งโบราณสถานในเขตเมืองเก่าอยุธยา
3.แหล่งโบราณสถานในเขตเมืองเก่าสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร
4.แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
5.ผืนป่าเขาใหญ่-ดงพญาเย็น

 
ประมาณเดือนกรกฎาคมของทุก ๆ ปี  จะมีการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกขององค์การยูเนสโก้ เพื่อพิจารณาสถานที่ที่ควรค่าต่อการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (World Heritage)  ประเทศต่าง ๆ จะต้องนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ ให้คณะกรรมการของยูเนสโก้ศึกษาล่วงหน้าเป็นเวลาหลายปีก่อนจะนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาตัดสิน

 
จุดเริ่มต้นของการกำหนดมรดกโลกเริ่มต้นมาจากความพยายามในการอนุรักษ์โบราณสถานอาบูซิมเบลให้พ้นจากระดับน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำไนล์ที่เมืองอัสวานในประเทศอียิปต์  องค์การยูเนสโก้ได้ระดมเงินกว่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐในการแยกชิ้นส่วนของวิหารพระเจ้ารามิเซสที่สองแล้วนำมาประกอบใหม่ในที่สูงขึ้น

 
ขณะเดียวกันความพยายามในการสถาปนาพุทธสถานบุโรพุทโธขึ้นมาใหม่จากซากกองหิน ได้ใช้เงินงบประมาณที่ได้จากองค์การยูเนสโก้บูรณะ จนกลายเป็นสถานที่ที่มีความโดดเด่นขึ้นมาในปัจจุบัน

 
เวนิสเป็นอีกเมืองหนึ่งที่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากองค์การยูเนสโก้เพื่อให้นครลอยน้ำแห่งนี้รอดพ้นจากการถูกน้ำทะเลท่วม

 
นับจากนั้นมา  นักวิชาการทางโบราณคดีจากทั่วโลกได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการกำหนดสถานที่ต่าง ๆ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ทางศิลปวัฒนธรรม ทางโบราณคดี ทางมานุษยวิทยา และทางธรรมชาติ  ขึ้นเป็นมรดกโลกเพื่อการอนุรักษ์ให้ลูกหลานได้มีโอกาสชื่นชม   หลังจากนั้นร่างประกาศมรดกโลกได้ผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมขององค์การสหประชาชาติในปี พ.ศ.2515

 
สำหรับสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว  สามารถสืบค้นได้จากเว็ปไซต์ขององค์การยูเนสโก้
http://whc.unesco.org/en/list

 
นอกจากงบประมาณในการดูแลรักษาแล้ว  การที่สถานที่ใดได้รับการกำหนดให้เป็นมรดกโลกยังได้ผลทางอ้อมคือเรื่องของเศรษฐกิจการท่องเที่ยว  แต่ต้องเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ไม่ใช่การท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์  

 
หลังจากการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว  ประเทศนั้น ๆ ต้องดูแลรักษาสถานที่นั้น ๆ ให้สอดคล้องเงื่อนไขข้อกำหนดของการเป็นมรดกโลก เช่นไม่สร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ในบริเวณใกล้เคียง  ปัจจุบันนี้อยุธยาเข้าข่ายสุ่มเสี่ยงต่อการถูกปลดจากการเป็นมรดกโลกอย่างยิ่ง 

 
ส่วนผืนป่าเขาใหญ่ดงพญาเย็น ก็มีข้อกำหนดให้สร้างอุโมงค์ให้สัตว์ป่าสามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้  ถือเป็นการเชื่อมผืนป่าให้เป็นผืนเดียวกัน   แต่ในขณะนี้กลับมีความพยายามจะตัดถนนสี่เลนแยกผืนป่าออกจากกัน  เข้าข่ายถูกปลดจากการเป็นมรดกโลกเช่นเดียวกัน

 
มรดกโลกไม่ใช่แต่จะมีเฉพาะของสวย ๆ งาม ๆ เพียงอย่างเดียว  ยังมีสถานที่ที่ (ไม่) น่าจดจำทางประวัติศาสตร์ที่ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกไว้ด้วย

ค่ายกักกันออสวิทซ์ของพวกนาซี (Auschwitz Concentration Camp) ประเทศโปแลนด์  ไว้สำหรับกักกัน (และสังหารหมู่) นักโทษชาวยิว  นับเป็นเรื่องที่น่าสะเทือนใจที่สุดที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 ใครได้ดูหนังฝรั่งคงพอทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้นบ้าง

 
อนุสรณ์สถานแห่งสันติภาพที่เมืองฮิโรชิมา เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพือรำลึกถึงระเบิดปรมาณูลูกแรกที่ทำลายล้างประชากรโลก ในสงครามโลกครั้งที่สอง  สิ่งเดียวที่หลงเหลือไว้เตือนใจคนรุ่นหลังคือหอรูปโดมที่ยังคงอยู่ในสภาพเดิมหลังจากโดนระเบิดปรมาณู  สถานที่แห่งนี้ได้ถูกกำหนดให้เป็นมรดกโลกเพื่อเตือนชนรุ่นหลังให้รำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต เพื่อจะได้ก้าวเดินต่อไปในทิศทางที่ถูกต้อง

 
เมื่อวันที่ 7 เดือน 7 ปี ค.ศ. 2007  ได้มีการประกาศ 7 สิ่งมหัศจรรย์ยุคใหม่ของโลกโดยใช้ผลการโหวตทางอินเทอร์เน็ต  หลายคนออกมาคัดค้านอย่างรุนแรงถึงวิธีการคัดเลือก และเหน็บแนมว่านี่ไม่ใช่การประกวด Reality Show ที่ให้ผู้ชมโหวตผ่านอินเทอร์เน็ต   แต่ควรให้การยกย่องสถานที่ที่เป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก้มากกว่า  เพราะได้ผ่านการคัดเลือกอย่างมีหลักเกณฑ์มาแล้ว  แต่ 6 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ก็เป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก้ด้วย

 
พาชมมรดกโลกในเอนทรีเดียวยังไงก็ไม่หมดครับ เพราะปัจจุบันมีมากกว่า 800 แห่งทั่วโลก  สถานที่ที่พาท่องโลกส่วนใหญ่เป็นมรดกโลกแทบทั้งนั้น  เดี๋ยวนี้เวลาไปจะเที่ยวต่างประเทศก็มักจะมองสถานที่ที่เป็นมรดกโลกไว้ก่อน
เพื่อน ๆ ละครับ ไปชมมรดกโลกมาแล้วกี่ที่ ของไทยเองเคยไปมาแล้วกี่ที่

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเลือกตั้งปี54

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เป็นการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ตามความใน พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ซึ่งให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเสียตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน
การ ส.ส. แบบแบ่งเขตในครั้งนี้มีรูปแบบการลงคะแนนเป็นแบบ "เขตเดียวเบอร์เดียว" หรือผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว ขณะที่การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อปี พ.ศ. 2550 นั้นเป็นแบบ "เขตเดียวสามเบอร์" หรือผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถเลือกผู้สมัครได้จำนวน 1-3 คน ตามขนาดของการแบ่งเขตพื้นที่
พรรคการเมืองที่ลงสมัคร
พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2551 มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นหัวหน้าพรรค โดยดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ส่วนพรรคเพื่อไทยยังไม่เปิดเผยผู้สมัครท้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีชัดเจน จนกระทั่งวันที่ 16 พฤษภาคม เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้รับมติเอกฉันท์จากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 นอกจากนี้ยังมีการจัดผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 2 ชุด คือบัญชีผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อเพื่อทำงานในสภา กับบัญชีผู้บริหารเพื่อทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ
ด้านพรรคชาติไทยพัฒนา ส่งชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1ทางพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่เกิดจากการรวมพรรครวมชาติพัฒนาและพรรคเพื่อแผ่นดินนั้น ส่งชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ทางพรรครักประเทศไทย ได้ส่งชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 โดยประกาศจะขอทำหน้าที่ฝ่ายค้าน ส่วนพรรคการเมืองใหม่ โฆษกพรรค สุริยะใส กตะศิลา ยืนยันว่าพรรคจะไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนที่สมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค ออกมาประกาศว่าจะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งนั้น ไม่ใช่มติพรรค

รายชื่อพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ

หมายเลข
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40


เขตเลือกตั้ง
       เขตเลือกตั้ง 375 เขตนั้น แบ่งเป็น

พื้นที่
จำนวน ส.ส.
33
15
11
10
9
8
7
6
5
4
3
2
1

พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ


2 พรรคประชากรไทย นายสุมิตร สุนทรเวช


สุมิตร สุนทรเวช

3 พรรคกิจสังคม  นายทองพูล ดีไพร



4 พรรคมหาชน  นายอิระวัชร์ จันทรประเสริฐ
8 พรรคชีวิตที่ดีกว่า  นายวรรธวริทธ์ ตันติภิรมย์


9  พรรคสยาม  นายเพ็ชร สายพานทอง




10 พรรคเพื่อฟ้าดิน   นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ

     

11 พรรคทางเลือกใหม่ นายการุณ รักษาสุข



12 พรรคความหวังใหม่ นายชิงชัย มงคลธรรม




13 พรรคเพื่อนเกษตรไทย นายทรงเดช สุขขำ



14 พรรคพลังเกษตรกร นายอนันต์ กาญจนสุวรรณ



15 พรรคประชาราช นายเสนาะ เทียนทอง

           สัญลักษณ์พรรคประชาราช


16 พรรคดำรงไทย นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู



17 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย นายเอียน คิดดี


18 พรรคอาสามาตุภูมิ  นายมนตรี เศรษฐบุตร
อาสามาตุภูมิ

19 พรรคชาติสามัคคี นายนภดล ไชยฤทธิเดช



20 พรรคเพื่อไทย  นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์


ยงยุทธ วิชัยดิษฐ

21 พรรคเพื่อแผ่นดิน นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

22 พรรคอธิปไตย นายวีระศักดิ์ อุปถัมภ์


23 พรรครวมใจไทย-ชาติพัฒนา นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล


วรรณรัตน์ ชาญนุกูล

24 พรรคแทนคุณแผ่นดินนายวิชัย ศิรินคร



25 พรรคชาติไทยพัฒนา นายชุมพล ศิลปอาชา


หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา นายชุมพล ศิลปอาชา


26 พรรคอนาคตไทย นายทะนงศักดิ์ ประดิษฐ์



27 พรรคเทียนแห่งธรรม  นายธนากร วีระกุลเดชทวี



28 พรรคอนุรักษ์นิยม นายภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง

29 พรรคธรรมาภิบาลสังคม นายสุรพงษ์ ภูธนะภิบูล




30 พรรคสุวรรณภูมิ ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์
Suvarnabhumi Party.jpg

31 พรรคพลังไทย นางวัชรียา ธนะแพทย์

32 พรรคมาตุภูมิ นายวิวัฒน์ ประวีณวรกุล



33 พรรคภูมิใจไทย นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล



34 พรรคเพื่อประชาชน นายธนาณฐ ศรีวัฒนะ


35 พรรคพอเพียง นางวันเพ็ญ เฟื่องงาม


ไทยพอเพียง

36 พรรคต้นตระกูลไทย นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

 

37 พรรคเงินเดือนประชาชน นายอิ่นแก้ว เทียนแก้ว

38 พรรคธรรมาธิปัตย์ นายธันวา ไกรฤกษ์

39 พรรคขัตติยะธรรม ว่าที่ ร.ต.สุรภัศ จินทิมา

ขัตติยะธรรม

40 พรรคประชาภิวัฒน์ นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี

41 พรรคแนวร่วมมาตุภูมิ  นายสากล ศรีเสมอ

42 พรรคพลังพัฒนา นายสนิท มาประจวบ

43 พรรคประชาธรรม นายมุคตาร์ กีละ

44 พรรครวมไทยพัฒนา นางสาวกิ่งกมล วายุโชติ

45 พรรคปวงชนชาวไทย นายเดชชาติ รัตนวรชาติ

46 พรรคการเมืองใหม่  นายสมศักดิ์ โกศัยสุข