วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเลือกตั้งปี54

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เป็นการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ตามความใน พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ซึ่งให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเสียตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน
การ ส.ส. แบบแบ่งเขตในครั้งนี้มีรูปแบบการลงคะแนนเป็นแบบ "เขตเดียวเบอร์เดียว" หรือผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว ขณะที่การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อปี พ.ศ. 2550 นั้นเป็นแบบ "เขตเดียวสามเบอร์" หรือผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถเลือกผู้สมัครได้จำนวน 1-3 คน ตามขนาดของการแบ่งเขตพื้นที่
พรรคการเมืองที่ลงสมัคร
พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2551 มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นหัวหน้าพรรค โดยดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ส่วนพรรคเพื่อไทยยังไม่เปิดเผยผู้สมัครท้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีชัดเจน จนกระทั่งวันที่ 16 พฤษภาคม เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้รับมติเอกฉันท์จากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 นอกจากนี้ยังมีการจัดผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 2 ชุด คือบัญชีผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อเพื่อทำงานในสภา กับบัญชีผู้บริหารเพื่อทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ
ด้านพรรคชาติไทยพัฒนา ส่งชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1ทางพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่เกิดจากการรวมพรรครวมชาติพัฒนาและพรรคเพื่อแผ่นดินนั้น ส่งชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ทางพรรครักประเทศไทย ได้ส่งชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 โดยประกาศจะขอทำหน้าที่ฝ่ายค้าน ส่วนพรรคการเมืองใหม่ โฆษกพรรค สุริยะใส กตะศิลา ยืนยันว่าพรรคจะไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนที่สมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค ออกมาประกาศว่าจะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งนั้น ไม่ใช่มติพรรค

รายชื่อพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ

หมายเลข
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40


เขตเลือกตั้ง
       เขตเลือกตั้ง 375 เขตนั้น แบ่งเป็น

พื้นที่
จำนวน ส.ส.
33
15
11
10
9
8
7
6
5
4
3
2
1

พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ


2 พรรคประชากรไทย นายสุมิตร สุนทรเวช


สุมิตร สุนทรเวช

3 พรรคกิจสังคม  นายทองพูล ดีไพร



4 พรรคมหาชน  นายอิระวัชร์ จันทรประเสริฐ
8 พรรคชีวิตที่ดีกว่า  นายวรรธวริทธ์ ตันติภิรมย์


9  พรรคสยาม  นายเพ็ชร สายพานทอง




10 พรรคเพื่อฟ้าดิน   นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ

     

11 พรรคทางเลือกใหม่ นายการุณ รักษาสุข



12 พรรคความหวังใหม่ นายชิงชัย มงคลธรรม




13 พรรคเพื่อนเกษตรไทย นายทรงเดช สุขขำ



14 พรรคพลังเกษตรกร นายอนันต์ กาญจนสุวรรณ



15 พรรคประชาราช นายเสนาะ เทียนทอง

           สัญลักษณ์พรรคประชาราช


16 พรรคดำรงไทย นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู



17 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย นายเอียน คิดดี


18 พรรคอาสามาตุภูมิ  นายมนตรี เศรษฐบุตร
อาสามาตุภูมิ

19 พรรคชาติสามัคคี นายนภดล ไชยฤทธิเดช



20 พรรคเพื่อไทย  นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์


ยงยุทธ วิชัยดิษฐ

21 พรรคเพื่อแผ่นดิน นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

22 พรรคอธิปไตย นายวีระศักดิ์ อุปถัมภ์


23 พรรครวมใจไทย-ชาติพัฒนา นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล


วรรณรัตน์ ชาญนุกูล

24 พรรคแทนคุณแผ่นดินนายวิชัย ศิรินคร



25 พรรคชาติไทยพัฒนา นายชุมพล ศิลปอาชา


หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา นายชุมพล ศิลปอาชา


26 พรรคอนาคตไทย นายทะนงศักดิ์ ประดิษฐ์



27 พรรคเทียนแห่งธรรม  นายธนากร วีระกุลเดชทวี



28 พรรคอนุรักษ์นิยม นายภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง

29 พรรคธรรมาภิบาลสังคม นายสุรพงษ์ ภูธนะภิบูล




30 พรรคสุวรรณภูมิ ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์
Suvarnabhumi Party.jpg

31 พรรคพลังไทย นางวัชรียา ธนะแพทย์

32 พรรคมาตุภูมิ นายวิวัฒน์ ประวีณวรกุล



33 พรรคภูมิใจไทย นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล



34 พรรคเพื่อประชาชน นายธนาณฐ ศรีวัฒนะ


35 พรรคพอเพียง นางวันเพ็ญ เฟื่องงาม


ไทยพอเพียง

36 พรรคต้นตระกูลไทย นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

 

37 พรรคเงินเดือนประชาชน นายอิ่นแก้ว เทียนแก้ว

38 พรรคธรรมาธิปัตย์ นายธันวา ไกรฤกษ์

39 พรรคขัตติยะธรรม ว่าที่ ร.ต.สุรภัศ จินทิมา

ขัตติยะธรรม

40 พรรคประชาภิวัฒน์ นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี

41 พรรคแนวร่วมมาตุภูมิ  นายสากล ศรีเสมอ

42 พรรคพลังพัฒนา นายสนิท มาประจวบ

43 พรรคประชาธรรม นายมุคตาร์ กีละ

44 พรรครวมไทยพัฒนา นางสาวกิ่งกมล วายุโชติ

45 พรรคปวงชนชาวไทย นายเดชชาติ รัตนวรชาติ

46 พรรคการเมืองใหม่  นายสมศักดิ์ โกศัยสุข